โควิด 19

โควิด 19 สายพันธุ์เดลต้า และวัคซีนที่ป้องกันได้

ย้อนรอย ทำความรูัจักกับ โควิด 19 สายพันธุ์เดลต้า กันดีกว่าพร้อมด้วยวัคซีน ที่ป้องกันได้มีอะไรบ้าง อาการเป็นอย่างไร การระบาดเป็นอย่างไร และความรุนแรงของโรคเป็นอย่างไรบ้าง

ทำความรู้จักกับ โควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า และวัคซีนที่ป้องกันได้มีอะไรบ้าง? เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ

โควิด 19 สายพันธุ์เดลต้า คืออะไร?

สำหรับสายพันธุ์นี้นั้น มีจุดกำเนิดและเริ่มต้นการแพร่ระบาด มาจากประเทศอินเดีย และด้วยนโยบายขององค์การอนามัยโลก (WHO) ได้มีการเรียกสายพันธุ์นี้ว่า “สายพันธุ์เดลต้า” เพื่อทดแทนการเรียกชื่อ จากประเทศที่พบเจอเป็นครั้งแรก ตามอักษรภาษากรีกไม่ว่าจะเป็น อัลฟ่า เบต้า แกมมา และเดลต้า เพื่อเป็นการลดการตีตรา ที่มีต้นกำเนิดจากประเทศนั้นๆ นั่นเอง 

โดยที่ในตอนนี้นั้น มีการตรวจสอบสายพันธุ์ที่พบในประเทศไทย ผลปรากฏว่า 5000 กว่าตัวอย่าง พบส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ที่มาจากอังกฤษถึง 4500 ราย และสายพันธุ์ใหม่อย่าง สายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย) เพิ่มขึ้นเกือบ 500 รายเลยทีเดียว ดังนั้น ไม่ควรที่จะมองข้ามกับสายพันธุ์ชนิดนี้ เป็นอันเด็ดขาด เนื่องจากมีแนวโน้มว่าจะมีการแพร่ระบาดที่สูง เป็นอย่างมาก 

ทำความรู้จักกับ โควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า และวัคซีนที่ป้องกันได้มีอะไรบ้าง? เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ

โควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า มีความอันตรายมากน้อยแค่ไหน?

จากการวิจัยมีการค้นพบว่า การแพร่เชื้อของสายพันธุ์เดลต้า มีมากกว่าสายพันธุ์เดิมอย่าง อัลฟ่า 40% ซึ่งเป็นที่จับตาอย่างมาก และอย่างใกล้ชิดในรายสัปดาห์ เลยทีเดียว

หากสถานการณ์ยังคงที่อยู่อาจจะต้องประเมิน อยู่ในระดับที่ไม่มีปัญหา แต่ถ้าหากยังคงแพร่ระบาด แบบก้าวกระโดด อยู่นั้นคาดการณ์ กันว่าประมาณ 2-3 เดือนที่จะถึงนี้ อาจจะเป็นสายพันธุ์ที่ระบาดมากขึ้น เป็นสัดส่วนครึ่งต่อครึ่งกับสายพันธุ์ดั้งเดิมอีกด้วย

จึงทำให้ไม่ควรที่จะมองข้าม เป็นอันเด็ดขาดโดยเฉพาะพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร และเฉพาะแคมป์คนงานที่หลักสี่ ค่อนข้างที่จะพบได้เยอะและดูเหมือนว่า จะเป็นอะไรที่ค่อนข้างหน้าเป็นห่วงไม่มากก็น้อย เพื่อสุขภาพของประชาชนชาวไทยจะต้องดูแล อย่างใกล้ชิดและไม่ควรที่จะประมาทเด็ดขาด

วัคซีนที่มีในไทยตอนนี้ ป้องกันได้หรือไม่?

มีการเปิดเผยมาจาก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ของประเทศไทย ในขณะนี้กำลังศึกษาและวิจัยอย่างต่อเนื่อง กับการเพิ่มภูมิคุ้มกันของ โรคดังกล่าว จากการทดลอง วัคซีนซิโนแวค ครบ 2 เข็ม ใน 200 คน ด้วยการนำเอาเลือดหรือ ซีรั่มมาตรวจและทดสอบ กับเชื้อสายพันธุ์ต่างๆ มีการค้นพบว่าเชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิมมีภูมิคุ้มกันสูงขึ้นถึง 100 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว 

ในส่วนของ สายพันธุ์อัลฟ่า ภูมิขึ้น 50-60% อีกทั้งยังมีการตรวจเพิ่ม และฉีดครบ 2 เข็มเป็นระยะเวลา 3 เดือน 6 เดือนอีกครั้งหนึ่ง กับการทดสอบว่าจะเป็นอย่างไร และรวมไปถึงการทดสอบเชื้อเดลต้า และ เบต้า เพื่อประสิทธิภาพในการรับวัคซีนที่มีในขณะนี้